วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
rabam comprateep sukhothai - Thai dance-ระบำโคมประทีปสุโขทัย
Mr Chaiwat said to me the gold, the inscriptions of the Sukhothai is an inscription of King Ramkhamhaeng. At the ceremony in the tradition of the Buddhist Lent. "...... When suitable. Krankฐin one month to go. When Krankฐin. Jaa Phanom Mak and Phanom with premium flowers. The seat cushions, pillows, sleeping. I'm always the servants cut reply to Gabriel to always pray to the forest yonder When there was walled up with everything but the forest area on foot. Operating on the operating Patis drum sound with a pin. Sound the sound driver. I know there are players who are on the one known as the gateway to the city of Sukhothai, I have four. I wear a candle to see you play with fire you burn candles. Sukhothai is known as the ". When the festive occasion in the middle of the twelfth month of the Loy. In the Sukhothai period. "Brahman rite ceremony - the floating lantern". The draw for the lamp chandelier in a gold alloy, Master Detective mountain lighting the lamp says it takes approximately 2-3 months to complete. The use of seed grain include grain Maklem Tahno, sorghum, orange, white, black, yellow, paddy birds, ivory, white, black, red, gray, green beans, pins, seeds, mustard seeds, rice, beans, coriander, egg shells, shell out. , palm leaves, flowers, Tabak, Amaranth, sand, rope, water hyacinth, like Japan, the lights, cardboard, bamboo, plywood, paper, rope, yarn, and so it was tinged by a stroke lamp chandelier. The fraction of light requires patience, skill and effort to make a fineness that spectacular to watch in the Loi Krathong and Candle fire. City College of Dramatic Arts. A study in conservation. The field of dance, music, arts and heritage, it has created a show that has to invent a new one. Dancing Light Lamps Sukhothai. Which indicates the creation of music and dance drawn from the beauty of the lights in the chandelier. Burn Candle Festival in Sukhothai province. This is a tradition that has passed since ancient times. In the form of dance music. And awareness to students. Involved in the conservation of art to younger generations. I have known and worked together to preserve tradition. นายชัยวัฒน์ ทองศักดิ์ ได้กล่าวถึงหลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ จารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตอนที่กล่าวถึงประเพณีการทอดกฐินเนื่องในเทศกาลออกพรรษาว่า “......เมื่อออกพรรษา กรานกฐินเดือนหนึ่งจึ่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ยพนมหมากมีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนนอน บริพารกฐินโอยทานแล่ปีแล้ญิบล้านไปสวดกฐินถึงอรัญญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียงกันแต่อรัญญิกพู้นเท้าหัวลาน ดํบงดํกลองด้วยเสียงพาทย์เสียงพิน เสียงเลื่อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวง เทียนย่อมคนเสียดกันเข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดังจักแตก” เมื่อหมดเทศกาลกฐินแล้วในกลางเดือนของเดือนสิบสองจะมีประเพณีลอยกระทง ในสมัยสุโขทัยเรียกว่า “พิธีจองเปรียง – ลอยประทีป” สำหรับการทำโคมชัก โคมแขวน ในปัจจุบัน ท่านอาจารย์ทองเจือ สืบชมภู ได้กล่าวไว้ว่า โคมแต่ละโคม ต้องใช้ระยะเวลาทำประมาณ ๒-๓ เดือนจึงจะสำเร็จ โดยการนำเอาเมล็ดพันธุ์พืชเม็ดเล็ก ๆ ได้แก่ เม็ดมะกล่ำตาหนู, ข้าวฟ่างสีส้ม ขาว ดำ เหลือง, ข้าวเปลือกนก, งาขาว ดำ แดง เทา ถั่วเขียว, เข็มหมุด, เมล็ดผักกาด, เมล็ดข้าวเหนียว, เมล็ดผักชี, เปลือกไข่, เปลือกไหม, ใบลาน, ดอกตะแบก, ดอกบานไม่รู้โรย, ทราย, เชือกผักตบชวา, ไหมญี่ปุ่น, ดวงไฟ, กระดาษแข็ง, ไม้ไผ่, ไม้อัด, กระดาษสา, เชือก, เส้นด้าย และอื่น ๆ มาร้อยเรียง แต่งแต้มให้เป็นโคมชักโคมแขวน แต่ละเสี้ยวของโคมต้องใช้ ความประณีต ความอดทน และความพยายาม อย่างมาก เพื่อให้สมกับความวิจิตรตระการตาที่นำมาให้ได้ชมในงาน ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย เป็นสถานศึกษาที่อนุรักษ์ และสืบทอดศิลปะสาขาดนตรี นาฏศิลป์ จึงได้สร้างสรรค์ชุดการแสดงที่คิดประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ได้แก่ ระบำโคมประทีปสุโขทัย ซึ่งเป็นการแสดงที่สร้างสรรค์เพลงและท่ารำมาจากความงดงามของโคมชักโคมแขวนใน เทศกาลเผาเทียนเล่นไฟของจังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาแต่โบราณ ในรูปของการแสดงนาฏศิลป์ดนตรี และเป็นการปลูกจิตสำนึกให้นักเรียน มีส่วนในการอนุรักษ์ศิลปะให้เยาวชนรุ่น หลังได้รู้จักและร่วมกันอนุรักษ์สืบต่อไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น