วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

Fon kailai-Thaidance-ฟ้อนก๋ายลาย

This dance is Kai lai was discovered by Mr. Chai said loudly to the public fairly. Former member of the folk clubs Student Research Forum at the end of 2531 at a South Beach district, Sa. Chiang Mai Province. Dance in this show. The evidence is not exactly a bundle of Tai Lue. Beach House at the original or not known in the dance that I now have a base that was in there for over 120 years ago, I was at the same time it is. The mother is everything. (Last name unknown), who has taught this dance to children at home in those locations. (Now the head is less than 10 employees) are expected to dance before his mother's mulberry. And a dance that has been previously accepted in society. Important it is. Mulberry's best friends and I dance the dance is welcome to come along and west of King County. King Rama VII was the seventh generation descendant of the mulberry until today's residents are still required to continue. Heat Hong Kong is the essence of their own. It is proud to present this to the children who have inherited legendary dance Kai Lai. This is true. I did not fill out much of the modern During the time I need a job i will have to practice this dance. Sound of drums, the boys play at. There are people who are close to see. The first talk of the measurements taken at the center. These images are rarely seen together in the city, but here at home as a Tong. Still preserved, not diminished. With the phrase "I least I climb Horm. Jar Jar took position here Hom Teo ". ฟ้อนก๋ายลายได้มีการค้นพบโดยนายสุชาติ กันชัย และนายสนั่นธรรมธิ อดีตสมาชิกของชมรมพื้นบ้านล้านนาสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ที่ บ้านแสนตอง ตำบลสะเมิงใต้ จังหวัดเชียงใหม่ ฟ้อนเมืองลายนี้ ไม่ได้มีหลักฐานอ้างอิงแน่ชัดว่าเป็นฟ้อนของกลุ่มชาวไทลื้อ บ้านแสนตองที่มีมาแต่เดิมหรือไมเท่าที่ทราบกันในบรรดาช่างฟ้อนที่เหลือใน ปัจจุบัน จึงมีการสันนิฐานกันว่าคงมีมานานกว่า ๑๒๐ ปีมาแล้ว ยุคที่จำความกันได้ก็คือ ยุคแม่หม่อนดี (ไม่ทราบนามสกุล) ซึ่งได้สอนฟ้อนชนิดนี้ให้กับลูกหลานชาวบ้านแสนตองในสมัยนั้น (ปัจจุบันนี้ผู้ที่ฟ้อนเป็นเหลือไม่ถึง ๑๐ คน) คาดว่าฟ้อนดังกล่าวคงมีมาก่อนสมัยแม่หม่อนดี และคงเป็นฟ้อนที่ได้รับการยอมรับกันในสังคมมาก่อนแล้ว ที่สำคัญก็คือ แม่หม่อนดีและเพื่อน ๆ ช่างฟ้อนในยุคนั้นได้เคยไปฟ้อนต้อนรับการเสด็จเลียบมณฑลพายัพของพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ มาแล้ว จากรุ่นหม่อนมาจนถึงรุ่นหลานในปัจจุบันนี้ชาวบ้านเหล่าแสนตองยังคงสืบสาน ฮีตฮอยที่เป็นแก่นแท้ของตนเอง เป็นที่น่าภูมิใจที่ปัจจุบันนี้ยังมีลูกหลานที่ยังสืบทอดตำนานฟ้อนก๋ายลาย ที่เป็นลายแท้ ไม่ได้แต่งเติมให้ออกมาสวยตามยุคตามสมัย ในช่วงเวลาที่วัดแสนตองมีงานตอนเย็นๆจะมีเด็กมาซ้อมฟ้อนลาย มีเสียงกลองจากเด็กผู้ชายที่มาเล่นที่วัด มีชาวบ้านที่อยู่ใกล้ๆออกมาดู มาคุยกันตามประสาของคนที่ยึดเอาวัดเป็นศูนย์กลาง ภาพเหล่านี้เรามักไม่ค่อยได้เห็นกันนักในสังคมเมือง แต่ที่นี่ ที่บ้านเหล่าแสนตอง ยังคงรักษาไว้ไม่เสื่อมคลาย สมกับคำพูดที่ว่า " ฮ่อมหนูก่หนูไต่ ฮ่อมไหน่ก๋ไหน่เตียว "

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น