วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

Fon thaipuan-Thaidance-ฟ้อนไทพวน

Kalasin College of Dramatic Arts. Has organized a series of performances of dance's time to present the work. In AD. The 2542 presentation on the tribes of Thailand - Laos, which has several species in the NE. Many immigrants come from the Mekong River basin. When the settlers near the same combination of tradition. And income of His Majesty the King for some peaceful time. The real point is that a people who speak Tai - Lao The original settlement of the town. A District in Xieng Khouang. Lao People's Democratic Republic. From an estimated million people were living up in less than two million people. The local distribution such as Udon Khai Sing Buri Lop Buri, Chiang Rai Community Nayok, Chachoengsao, etc. So the real point of the major ethnic groups should be educated about the unique culture and traditions of the Tai Puan. To present the work in conservation and development of the format of the show next year and the year 2542 was the year of His Majesty King Bhumibol Adulyadej the Great, God is there. His Majesty the King for 72 years. Kalasin College of Dramatic Arts. I did not have to salute an additional 2 to honor Him. Reasons mentioned above. The inspiration for the teachers. Kalasin College of Dramatic Arts. The idea is to learn about conservation and development of dance's time to get up and dance club with one of Nong Khai. Which knowledge of the choreography and costumes as well. วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ได้ดำเนินการจัดชุดการแสดงฟ้อนไทพวนขึ้นเพื่อนำเสนอเป็นผลงาน ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๒โดยเสนอผลงานเกี่ยวกับกลุ่มชนเผ่าไทย-ลาว ในอิสาน ซึ่งมีหลายเผ่าพันธุ์ ส่วนใหญ่มักจะอพยพมาจากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง เมื่อมาตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้กันได้ผสมผสานประเพณี ต่างได้พึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวๆอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา ไทพวนเป็นอีกกลุ่มชนหนึ่งที่พูดภาษาตระกูลไท-ลาว ถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จากแผนที่ทางภาษาประมาณกันว่าคนพวนอาศัยในประเทศไทยไม่น้อยกว่าสองล้านคน โดยกระจายอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆเช่น อุดรธานี หนองคาย พิจิตร นครนายก สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี เชียงราย ฉะเชิงเทรา เป็นต้น ดังนั้นไทพวนจึงเป็นชนกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มหนึ่งที่ควรจะศึกษาเกี่ยวกับวิถีชีวิตวัฒนธรรมและประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทพวน เพื่อนำเสนอเป็นผลงานในเชิงอนุรักษ์และพัฒนาขึ้นมาเป็นรูปแบบของการแสดงต่อไปประกอบกับปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระพรรษาครบ๗๒พรรษา วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ได้แต่งบทถวายพระพรเพิ่มขึ้นอีก๒บทเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระองค์ท่าน ด้วยเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงเป็นแรงบันดาลใจให้คณะครูอาจารย์ วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ เกิดแนวความคิดที่จะศึกษาเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาเกี่ยวกับเรื่องฟ้อนไทพวนขึ้นและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากชมรมนาฏศิลป์หนองคาย ซึ่งให้ความรู้ในเรื่องท่ารำและเครื่องแต่งกายเป็นอย่างดียิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น